22 May 2025
เมืองไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน! โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนที่แดดแรงจนรู้สึกเหมือนโดนย่างทั้งเป็น การติดฟิล์มกรองแสงเป็นวิธีที่ช่วยให้ขับรถได้สบายขึ้น ไม่ต้องนั่งเหงื่อแตกพลั่กและแอร์ไม่ต้องทำงานหนักจนกินน้ำมันเกินเหตุ
นอกจากนี้ ฟิล์มกรองแสงยังช่วยปกป้องภายในรถจากรังสี UV ที่ทำลายสีเบาะและอุปกรณ์ในรถ ไม่ให้ซีดจางก่อนวัย และที่สำคัญที่สุดคือช่วยลดความเสี่ยงของโรคผิวหนังจากแสงแดด เช่น มะเร็งผิวหนัง และปัญหาฝ้า กระแดด ที่ไม่มีใครอยากเจอ! Mr.OOHOO รวมวิธีเลือกฟิล์มกรองแสง รับฤดูร้อนแบบมือโปร จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูพร้อมกันได้เลย
ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่าฟิล์มกรองแสงมีดีแค่ทำให้รถดูเท่ ขอบอกเลยว่าคิดผิด! มันมีประโยชน์มากกว่านั้นเยอะ มาดูกันว่าทำไมเราควรติดฟิล์มกรองแสงโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนแบบนี้
ลดภาระเครื่องปรับอากาศฟิล์มกรองแสงช่วยลดอุณหภูมิภายในรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความร้อนที่ผ่านกระจกเข้ามาได้ถึง 50-80% (ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์ม) ซึ่งช่วยให้แอร์ทำงานน้อยลง ทำให้ประหยัดน้ำมันไปในตัว
ดูแลผิวและอุปกรณ์ภายในรถรังสี UV จากแสงแดดไม่ได้แค่ทำให้เราผิวเสียเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวการหลักที่ทำให้เบาะหนัง ซีดกรอบ และแผงคอนโซลแตกลายได้ ฟิล์มกรองแสงที่ดีสามารถกรองรังสี UV ได้ถึง 99% ทำให้ช่วยถนอมรถและสุขภาพของเราไปพร้อมกัน
ป้องกันกระจกแตกกระจายฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดีจะช่วยยึดกระจกให้อยู่กับที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ลดความเสี่ยงที่เศษกระจกจะแตกกระเด็นมาทำร้ายเราและผู้โดยสารในรถ
ลดแสงสะท้อนฟิล์มกรองแสงช่วยลดแสงสะท้อนจากแดดที่อาจทำให้เรามองถนนได้ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะช่วงกลางวัน แสงที่ส่องเข้าตาก็อาจทำให้เสียสมาธิในการขับรถได้
การติดฟิล์มกรองแสงช่วยให้รถดูเป็นส่วนตัวขึ้น ลดโอกาสที่คนภายนอกจะมองเข้ามาเห็นของมีค่าในรถ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมได้
1.กันร้อนได้ดี
ดูได้จากค่า Solar Heat Rejection (SHR) หรือ การป้องกันความร้อน ยิ่งสูงยิ่งดี ไม่ใช่แค่ทำให้รถไม่เป็นเตาอบ แต่ยังช่วยให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนัก ประหยัดน้ำมันไปอีก!
2.กัน UV ได้จริง
เลือกฟิล์มที่กรองรังสี UV ได้ 99%+ จะช่วยถนอมผิวหน้า และป้องกันแดดเลียเบาะรถจนซีด
3.ไม่มืดเกินไป
ถ้าเลือกฟิล์มดำปี๋แบบโรงหนัง อาจจะทำให้ขับตอนกลางคืนลำบาก
4.กันกระจกแตก
ฟิล์มดีๆ ช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้กระเด็นใส่หน้าเวลามีอุบัติเหตุ
5.สบายกระเป๋า
ฟิล์มมีหลายระดับราคา ถูกไปก็กันแดดไม่ดี แพงไปก็ไม่ไหว เอาที่คุ้มกับงบของเรา
ผ่อนเงินสด 0%
ไม่มีบัตรเครดิตก็ผ่อนได้
การันตีราคาถูกที่สุด
เจอที่อื่นถูกกว่าเราพร้อมคืนเงินทันที
เปรียบเทียบได้เลย
เช็คราคา ความคุ้มค่าก่อนสั่งซื้อ
ซื้อเองได้ 24 ชั่วโมง
ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่โทรตาม
รับกรมธรรม์ได้เลย
ผ่านระบบออนไลน์
เจ้าหน้าที่พร้อมบริการด้วยใจ
เมื่อคุณต้องการคำแนะนำ
ฟิล์มกรองแสงมีหลายประเภทให้เลือก แล้วแบบไหนที่เหมาะกับเราที่สุด? มาดูกันว่าเลือกแบบไหนใช่ที่สุดสำหรับรถยนต์คันโปรด
1.เลือกประเภทฟิล์มให้เหมาะกับการใช้งาน
- ฟิล์มเซรามิก (Ceramic Film) – กันร้อนได้ดีมาก ไม่รบกวนสัญญาณมือถือ GPS แต่ราคาค่อนข้างสูง
- ฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film) – ป้องกันรังสี UV ได้ดี สีไม่ซีดง่าย ราคากลางๆ
- ฟิล์มปรอท (Metalized Film) – สะท้อนความร้อนได้ดี แต่บางรุ่นอาจรบกวนสัญญาณมือถือ
- ฟิล์มใสกันร้อน (Nano-Ceramic Film) – เหมาะสำหรับคนที่อยากได้ความใสแต่ยังกันร้อนดี
2.เลือกความเข้มของฟิล์มให้เหมาะสมบานหน้า: 40-60% (เพื่อให้มองเห็นถนนชัดเจน) รอบคัน 60-80% (กันร้อนดี แต่ไม่มืดจนขับลำบาก)
3. เลือกฟิล์มที่ได้มาตรฐานและรับประกันฟิล์มกรองแสงที่ดีควรมีใบรับรองมาตรฐาน เช่น ISO 9001 หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงควรมีการรับประกันการใช้งานอย่างน้อย 5-10 ปี
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง?
ติดฟิล์มแล้วจะโดนตำรวจจับไหม?
ถ้าฟิล์มมืดเกินไป อาจผิดกฎหมายได้! ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ค่าความเข้มของฟิล์มหน้าไม่เกิน 40% และรอบคันไม่เกิน 60-80% เช็คให้ดีก่อนติด
ฟิล์มราคาถูกกับฟิล์มแพง ต่างกันยังไง?
ฟิล์มถูกอาจกันร้อนไม่ได้ดี และเสื่อมสภาพเร็ว ฟิล์มแพงจะมีเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การกรองรังสีอินฟราเรด และมีความทนทานสูงกว่า
ฟิล์มเซรามิกกับฟิล์มปรอท อันไหนดีกว่ากัน?
ฟิล์มเซรามิกกันร้อนได้ดี ไม่รบกวนสัญญาณมือถือ ส่วนฟิล์มปรอทกันร้อนได้ดีเช่นกัน แต่บางรุ่นอาจทำให้สัญญาณ GPS หรือมือถืออ่อนลง
ขับรถไปไหนมาไหนแบบไม่ให้ละลายเป็นไอติม ก็ต้องมี ฟิล์มกรองแสง ดีๆ สักชุดติดรถไว้ช่วยบล็อกแสงแดด ไม่ว่าเจอกับฤดูร้อนแค่ไหน ป้องกันรถเสีย เครื่องยนต์ฮีทจนทนไม่ไหว อย่าลืม ทำประกันรถยนต์ หรือต่อประกันออนไลน์ง่ายๆ ราคาเบี้ยสบายกระเป๋า เอาอยู่บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ฟรี! เข้ามาเช็กประกันรถยนต์ได้ง่าย ๆ ที่ อู้หู ประกันออนไลน์ เทียบราคา เลือกความคุ้มครองเองง่าย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
บทความที่น่าสนใจ
4 สัญญาณเตือนเปลี่ยนยางรถยนต์ใหม่
ข้อเสียของการจอดรถตากแดด
5 เรื่องต้องเช็กก่อนไฟไหม้รถยนต์