ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?

ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?

16 Feb 2017

ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับใคร?

ประกันรถยนต์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

โดยทั่วไปแล้วประเภทของประกันภัยรถยนต์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่  “ภาคสมัครใจ” และ “ภาคบังคับ” ซึ่งประกันทั้งสองประเภทจะมีดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ 

“ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” หรือที่เรียกกันว่า พรบ. ซึ่งทุกประเภท เช่น รถยนต์ รถกระบะ รถตู้ รถบรรทุก หรือ รถจักรยานยนต์ ก็จำเป็นจะต้องทำประกันภาคบังคับนี้กันทั้งหมด และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี หากไม่ต่ออายุจะไม่สามารถต่อภาษีรถได้ และยังมีโทษปรับอีกด้วย

  • ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

“ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” เป็นประกันรถที่ให้ความคุ้มครองโดยบริษัทเอกชน วงเงินความคุ้มครองจะสูงมากกว่า  การต่อประกันจะเป็นแบบปีต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกฎหมายที่บังคับว่าจะต้องทำประกันประเภทนี้ แต่ด้วยความคุ้มครองที่ค่อนข้างครอบคลุม จึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่คนใช้รถใช้ถนนเป็นประจำ ขาดไปไม่ได้โดยเด็ดขาด 

ชั้นของประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภท ? แตกต่างกันอย่างไร?

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 

ประกันรถยนต์ชั้น 1 ราคาเบี้ยประกันต่อปีจะค่อนข้างสูง แต่มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด เช่น ความเสียหายของตัวรถทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี, ความคุ้มต่อร่างกาย การบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล, การคุ้มครองต่อทรัพย์สิน,  ค่าประกันตัวหากถูกดำเนินคดีอาญา, บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน เป็นต้น

ข้อดี:

  • ให้การคุ้มครองอย่างครอบคลุม
  • รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถและทรัพย์สิน รวมถึงร่างกายและชีวิต ทั้งของเราและของคู่กรณี
  • คุ้มครองรถในกรณีนอกเหนือจากอุบัติเหตุ เช่น สูญหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วม พายุ) และการก่อการร้าย เช่น ระเบิด การจราจล เป็นต้น
  • ครอบคลุมค่าเสียหายทั้งแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี

เหมาะกับใคร:

  • รถยนต์ใหม่ป้ายแดง
  • ผู้ขับขี่มือใหม่
  • ผู้ที่ต้องการการคุ้มครองที่ครอบคลุม

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+

  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างประกันรถยนต์ ชั้น 2+ กับประกันรถยนต์ชั้น 1 แล้ว ความคุ้มครองแทบไม่มีความแตกต่าง ขณะที่เบี้ยประกันรายปีไม่สูงเท่ากับประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่อาจมีเงื่อนไขที่ประกันรถยนต์ ชั้น 2+ ไม่คุ้มครองครอบคลุมเท่ากับประกันรถยนต์ชั้น 1 เช่น ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ จะให้ความคุ้มครองความเสีหายของรถแบบมีคู่กรณีเท่านั้น ไม่คุ้มครองการชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น การชนสิ่งของ ชนต้นไม้ รั้วบ้าน เป็นต้น

ข้อดี:

  • รับผิดชอบทุกอย่างเหมือนประกันชั้น 1
  • เบี้ยประกันต่อปีถูกกว่าประกันชั้น 1
  • รับผิดชอบรถยนต์ของผู้เอาประกันในกรณีชนกับยานพาหนะทางบก

เหมาะกับใคร:

  • รถยนต์ที่ใช้งานเกิน 7 ปีแต่ไม่เกิน 15 ปี

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันในส่วนของรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นความสูญหาย หรือเหตุไฟไหม้ของตัวรถยนต์ แต่ไม่คุ้มครอง ในส่วนของการบาดเจ็บ ชีวิตและทรัพย์สิน ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

ข้อดี:

  • คุ้มครองรถยนต์ เช่น รถหาย, ไฟไหม้, ถูกชิงทรัพย์, ถูกปล้นทรัพย์, ถูกยักยอกทรัพย์ เป็นต้น

เหมาะกับใคร:

  • ผู้เอาประกันรถยนต์มีความชำนาญในการขับขี่แล้วระดับหนึ่ง
  • ผู้ที่ใช้รถยนต์ไม่บ่อย

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองรถที่ทำประกันในกรณีอุบัติเหตุรถชนรถเท่านั้น จะไม่คุ้มครองค่าความเสียหายในกรณีอื่น เช่น ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ไฟไหม้ ถูกโจรกรรมสูญหาย เป็นต้น หากรถยนต์ของคุณใช้งานน้อยไม่บ่อยครั้ง หรือรถมีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ประกันรถยนต์ชั้น 3+ อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

ข้อดี:

  • ราคาเบี้ยประกันถูก

เหมาะกับใคร:

  • ผู้ที่ใช้รถยนต์น้อย
  • รถยนต์มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • เป็นผู้ขับขี่ที่ชำนาญแล้ว
  • รถจอดในที่ปลอดภัย
  • ต้องการประกันรถที่ราคาประหยัด

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 เรียกได้ว่าเป็นประกันรถระดับพื้นฐานที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเมื่อเกิดจากอุบัติเหตุทางรถ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินเช่น ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล ของคู่กรณีเท่านั้น เมื่อรถที่ทำประกันเป็นฝ่ายผิด

ข้อดี:

  • คุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุให้กับคู่กรณี ทำการจ่ายชดเชยค่าเสียหาย ค่าซ่อมรถให้กับคู่กรณี 

เหมาะกับใคร:

  • ผู้ที่ใช้รถยนต์น้อย
  • รถยนต์มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • เป็นผู้ขับขี่ที่ชำนาญแล้ว
  • รถจอดในที่ปลอดภัย
  • ต้องการประกันรถที่ราคาประหยัด

แล้วประกันชั้นไหนที่เหมาะสมกับเรา?

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประกันภัยรถยนต์แต่ละแบบ เราควรจะเลือกแบบไหน เรามีข้อแนะนำ 5 ข้อสำหรับพิจารณาเลือกแบบประกันชั้นไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุด ดังนี้

1. ใช้รถบ่อยแค่ไหน?

การใช้รถบ่อยควรพิจารณาว่า ยิ่งคุณใช้รถบ่อยมากเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุก็มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น หากคุณมีการใช้บ่อยมาก หรือเป็นประจำทุกวัน ควรพิจารณาประกันภัยรถ ที่มีความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด ในราคาที่ซื้อไหว แต่หากเป็นคนที่ใช้รถไม่บ่อยมาก อาจจะเลือกแบบประกันที่ความคุ้มครองน้อยลงได้

2. พฤติกรรมการขับขี่?

ผู้ขับขี่รถที่จะทำประกันภัยรถนั้นควรมีการประเมินตนเองตามความเป็นจริงว่า ตนเองมีพฤติกรรมการขับขี่รถเป็นอย่างไร เช่น มีความชำนาญมากหรือน้อยแค่ไหนหรือเป็นผู้ขับรถมือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญ หรือขับรถชนสิ่งของบ่อยๆ จึงควรพิจารณาประกันรถที่มีความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด

3. อายุของรถ?

อายุรถก็จะมีผลต่อการเลือกแบบประกัน เช่น หากเป็นรถป้ายแดงที่รถยังใหม่หรือรถที่มีมูลค่าสูง ก็ขอแนะนำให้ทำประกันรถชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุดทั้งอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี

4. พื้นที่การใช้รถ ?

พื้นที่การใช้รถ เช่น ใช้รถในเมืองหรือชนบท ใช้รถในกรุงเทพหรือต่างจังหวัด  ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ใช้รถในกรุงเทพที่มีจำนวนรถและความหนาแน่นของรถที่มากกว่าพื้นที่ต่างจังหวัด ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากว่า หรือเกิดการเฉี่ยวชนบ่อยก็ควรจะมองหาประกันรถที่มีความมีความคุ้มครองมากกว่าการใช้รถในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งหากเป็นการใช้รถในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือในชนบทที่ปริมาณรถมีจำนวนไม่มากการซื้อประกันรถ ชั้น 2 หรือ 3  ก็อาจจะเพียงพอ เป็นต้น

5. ต่อประกันรถที่ไหนดี ?

ทุกวันนี้บริษัทประกันภัยรถมีจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีนายหน้าขายประกันอีกจำนวนมาก การเลือกใช้บริการจึงควรพิจารณาให้ดี เช่น บริษัทประกันมีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงที่ดีในด้านบริการจนถึงบริการหลังการขายที่ดี สามารถดูวิธีการเลือกบริษัทประกันได้ที่บทความ ทำไมต้องทำประกันรถชั้น1 ก็จะช่วยให้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับคุณ

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาแผนประกันราคาที่ตรงใจที่คุณเลือกได้เอง จากบริษัทประกันชั้นนำกว่า 23 บริษัท โดยกรอกข้อมูลในช่องให้ครบถ้วนก็สามารถเช็คราคาเบี้ยประกันของคุณเองได้ที่ เช็คราคาประกันรถยนต์ เพื่อให้ได้ราคาสุดคุ้ม ง่าย สะดวก ตลอด 24 ชม. หรือดูรายละเอียดประกันรถยนต์ชั้น1 ได้ที่ ดูรายละเอียดประกันรถยนต์ชั้น1